Discounted Cash Flow คือ: แนวคิดหาความคุ้มการลงทุนด้วย Discounted Cash Flow (Dcf) – Peniaphobia

โดย Club VI ในตอนที่แล้ว เราได้อธิบายเรื่อง "การคิดลด" (Discounting) โดยตั้งโจทย์เพื่อทดสอบความเข้าใจไว้ดังนี้ "บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชื่อ DTAK (อ่านว่า "ดีแตก") คาดว่าจะจ่ายปันผลพิเศษในอีก 2 ปีข้างหน้า เป็นเงิน 16 บาท ถ้าใช้อัตราคิดลด 10% เงินปันผลก้อนนี้ จะมีมูลค่า ณ ปัจจุบันเท่ากับเท่าไร" เป็นยังไงบ้างครับ ทำกันได้มั้ย? … เฉลยเลยนะครับ จุดที่เรายืนอยู่คือ "ปัจจุบัน" เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี เราจึงจะได้เงินปันผล 16 บาท วิธีก็คือ เราต้องคิดลด (discount) เงินก้อนนี้กลับมาที่เวลาปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นระยะเวลา 2 ปี จึงต้องมี (1+r) สองครั้ง ทำให้ได้เป็นสมการดังกล่าว คำตอบที่ถูกต้องจึงเท่ากับ 13. 22 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้น เราอาจคิดลด "รวดเดียว" หรือค่อยๆ ถอยมาทีละปีก็ได้ โดยคำตอบที่ได้จะไม่แตกต่างกันครับ ————————– ทีนี้มาว่ากันต่อในเรื่องของการคิดลด การคิดลดที่นิยมกันมากที่สุดคือ "การคิดลดกระแสเงินสด" หรือ Discounted Cash Flow เรียกสั้นๆ ว่า "DCF" อันเป็นการหามูลค่าของเงินสดในอนาคตของกิจการนั้นๆ ทั้งนี้ "กระแสเงินสด" (Cash Flow) มีอยู่หลายประเภท แต่ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ "กระแสเงินสดอิสระ" หรือ Free Cash Flow (FCF) คุ้นหูกันบ้างมั้ยครับ?

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 2 Discounted FCFE - YouTube

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF): ตอน 2 Discounted FCFE - YouTube

20 = 100] และในทำนองเดียวกันเงิน 100 บาทที่เราคาดหวังว่าจะได้จาก CPALL ในอีก 1 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าในวันนี้เท่ากับ 100 / 1. 07 = 93. 45 บาท 15. การที่เราคำนวณว่าเงินในอีก 1, 2, 3, ….. n ปี ข้างหน้าจะมีมูลค่าเทียบเท่าเป็นเงินกี่บาทในปัจจุบัน ดังที่ผมคำนวณให้ดูข้างต้น ภาษานักการเงินเค้าเรียกกันว่า "การคิดลด" และการนำกระแสเงินสดที่คาดหวังในแต่ละปี มาคิดลด แล้วก็นำมารวมกันเพื่อหามูลค่าของกิจการ เราเรียกว่า " Discounted cash flow ( การคิดลดกระแสเงินสด) " 16. คำถามต่อมาก็คิอ แล้วหุ้นตัวไหน เราควรจะคิดลดเท่าไร อันที่จริงการหาตัวเลขมาคิดลด มีสูตรคำนวณที่เรียกว่า WACC ( Weighted average cost of capitol) แต่เนื่องจากผมจะพยายามนำเสนอการทำ DCF แบบง่ายๆ เลยตัดการคำนวณตรงนี้ทิ้งไป และว่ากันตามจริง ผมก็ไม่ค่อยเชื่อการคำนวณของ WACC ด้วยซ้ำ เพราะการคำนวณ WACC ต้องอาศัยค่า Beta ของหุ้น ซึ่งสมมติฐานสำคัญของการใช้ Beta ก็คือตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ซึ่งผมเองในฐานะ Value Investor ไม่เคยเชื่อว่าตลาดจะมีประสิทธิภาพ 17. แล้วผมคิดลดอย่างไร? ผมคิดลดโดยอาศัยการดูข้อมูลเชิงคุณภาพของบริษัทเอา อย่างเช่นกรณีของ CPALL ผมอาจจะคิดลดสักแค่ 7 -8% แต่กรณีของ N-PARK ผมอาจจะใช้ที่ 12 -13% และส่วนใหญ่ผมจะคิดลดไว้หลายๆ ค่า แล้วมาดูต่อว่ามูลค่าของกิจกา ที่เราคิดโดยอาศัยการคิดลดเยอะๆ นั้น มากน้อยกว่าราคาในกระดานอย่างไร เพื่อเป็นการเผื่อ MOS ไปเลย 18.

เจาะลึก Net Present Value (NPV) พร้อมสูตรคำนวณอย่างละเอียด – PENIAPHOBIA

discounted cash flow คือ chart

ปราชญ์ อสังหาฯ

Discount cash flow คือ

  1. เจาะลึก Net Present Value (NPV) พร้อมสูตรคำนวณอย่างละเอียด – PENIAPHOBIA
  2. Discounted cash flow คือ 1
  3. แนวคิดหาความคุ้มการลงทุนด้วย Discounted Cash Flow (DCF) – PENIAPHOBIA

โดย Club VI นักลงทุนแทบทุกคนคงเคยได้ยินเรื่องของ "การคิดลดกระแสเงินสด" (Discounted Cash Flow) มาบ้างแล้ว ทว่าบางคนอาจไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แต่อย่างน้อยๆ ทุกคนน่าจะทราบว่า หากเอาเงินสด 100 บาท ฝากแบงก์ไว้ โดยได้ดอกเบี้ย 3% พอครบหนึ่งปี เงินนั้นจะกลายเป็น 103 บาท ในทางกลับกัน ถ้าถามใหม่ว่า หาก ณ วันนี้เรามีเงิน 103 บาท โดยเงินนั้นอยู่ในแบงก์มาแล้ว 1 ปี ได้ดอกเบี้ยปีละ 3% ถามว่าเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว เรามีเงินฝากแบงก์อยู่กี่บาท ถึงตรงนี้ ท่านคงตอบได้ง่ายๆ เลยใช่ไหมครับว่า ก็ "100 บาท" ไง เชื่อไหมครับว่า แค่นี้แหล่ะคือ "การคิดลด" (Discounting)!! ขอแสดงให้เห็นง่ายๆ อย่างนี้นะครับ ด้วยอัตราดอกเบี้ย r … พอผ่านไป 1 ปี เงินต้น A จะกลายเป็น A(1+r) ในที่นี้ เงินต้น 100 บาท จึงกลายเป็น 100 x (1+0. 03) = 103 บาท นี่คือ "ขาไป" ส่วนการ "คิดย้อนกลับ" แทนที่เราจะเอา 1+r ไปคูณ เราก็เอาไปหารแทน เงิน ณ ปัจจุบัน A บาท จะมาจากเงินต้น A/ (1+r) เงิน 103 บาท ในวันนี้ จึงมีที่มาจาก 103 / 1. 03 = 100 บาท เมื่อ 1 ปีก่อนหน้านั่นเอง ประโยชน์ของการคิดลดก็คือ มันทำให้เราสามารถเปรียบเทียบ "เงินในวันนี้" กับ "เงินในอนาคต" ได้ เช่น สมมุติเพื่อนยืมเงินเราไป 100 บาท เราก็จะรู้ว่า พอสิ้นปีที่ 1 อย่างน้อยเพื่อนควรจะคืนเงินเรา 103 บาท (เพื่อไม่ให้น้อยกว่าดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการเอาเงินไปฝากธนาคาร) แต่ถ้าเพื่อนยืมไป 2 ปี เขาก็ควรจะเอามาคืนเรา 103 x 1.

สอนมือใหม่ประเมินมูลค่าหุ้น ตอน DCF | ลงทุนศาสตร์ Investerest.co

ที่สุด ( การวัดที่กำไรสุทธิอย่างเดียว อาจไม่บอกอะไรมาก เพราะธุรกิจบางประเภทอาจจะต้องลงทุนตลอดเวลา ได้กำไรมาเท่าไรก็ต้องเอากำไรไปแปลงเป็นเครื่องจักรเสียหมด ไม่เหลือ"เงินสด"ลงมาถึงผถห. ) 4. กลับมาที่สมการ FCF = OCF – [ CAPEX + CWC] ผมจะอธิบายตัวแปรในสมการแต่ละตัวอย่างละเอียด 5. เริ่มจาก Operating cash flow ( OCF): OCF คือกระแสเงินสดที่ไหลเข้าบริษัทจากการดำเนินงาน ซึ่งวิธีคำนวณก็ง่ายๆ นั่นคือเอากำไรสุทธิของบริษัท มาบวกคืนด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด ซึ่งก็ก็คือค่าเสื่อมและค่าความนิยม ( Depreciation and Amortization) หรือเขียนเป็นสมการจะได้เป็น: OCF = Net Profit + DA อย่างไรก็ตาม นลท. บางท่าน อาจจะใช้ OCF = EBIT x ( 1 – T) + DA แทน, เหตุที่ใช้ EBIT x ( 1 – T) แทน Net Profit เพราะถือว่า Interest เป็นผลตอบแทนของเจ้าหนี้ เลยต้องนำมาบวกคืน แต่สำหรับความเห็นผม ผมเห็นว่า Interest เป็นรายจ่ายที่เป็นเงินสดจริงๆ เลยไม่ได้นำมาบวกกลับเวลาคิด FCF DA เราสามารถหาออกมาได้จากงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท 6. ตัวแปรตัวต่อมาที่ผมจะพูดถึงคือ Capital Expenditure ( CAPEX): CAPEX คือค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์มาใช้ในการดำเนินงานของบริษัท เช่น ซื้อที่ดิน ซื้อเครื่องจักรใหม่ ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ เป็นต้น, CAPEX ปกติจะมีด้วยกันสองส่วนคือ Investing CAPEX ( CAPEX ที่ใฃ้เพื่อซื้อสินทรัพย์ใหม่) และ Maintainance CAPEX ( CAPEX ที่ใช้ในการทำนุบำรุงสินทรัพย์เก่าให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้) CAPEX เราสามารถหาได้จากงบกระแสเงินสดจากการลงทุนของบริษัท 7.

หลังจากเราหาตัวแปรต่างๆ ( อันได้แก่ OCF, CAPEX, WC) ได้ครบ เราก็จะสามารถหา FCF ออกมาได้ ( การหา OCF, CAPEX, WC ในอนาคต จะกล่าวถึงในบทความต่อไป บทความนี้จะขอพูดแต่ concept การคิดคร่าวๆก่อน) หลังจากนั้นเราก็เอา FCF มาบวกกันเสีย แล้วเอาหนี้มาลบออกเราก็จะได้มูลค่าของกิจการ มูลค่าของกิจการ ( Market Cap) = ( FCF ปีที่ 1 + FCF ปีที่ 2 + FCF ปีที่ 3 + …. + FCF ปีที่อนันต์) – หนี้ของบริษัท 9. การคำนวณแบบข้างบนดูเหมือนว่าน่าจะถูก แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมคิดไปก็คือว่า เงิน 100 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้า มีมูลค่าไม่เท่ากับเงิน 100 บาทในวันนี้ 10. ผมจะลองยกตัวอย่างง่ายๆ ประกอบความเข้าใจ สมมติว่ามีเศรษฐีใจบุญคนนึงจะมาแจกเงินให้คุณ 100 บาท แล้วเค้าให้คุณเลือกว่า คุณจะเอาเงินตอนนี้เลยหรือ รออีกหนึ่งปีค่อยมาเอาก็ได้ แน่นอนว่าเราก็ต้องเลือกที่จะเอาตอนนี้เลย เพราะถ้าเราเลือกเอาตอนนี้แล้วเราเอาไปฝากประจำหนึ่งปี เงิน 100 จะงอกเงยเป็น 102 บาท แตกต่างจากการที่เรารออีก 1 ปี ค่อยไปเอา ที่มูลค่ามันก็ยัง 100 บาทเท่าเดิม 11. จากตัวอย่างในข้อ 10 ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าเงิน 100 บาทในวันนี้ มีค่ามากกว่าเงิน 100 บาทที่จะได้ในอีก 1 ปีข้างหน้าแน่ๆ แต่คำถามต่อไปที่จะต้องคิดก็คือว่า แล้วเงิน 100 บาทที่จะได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า มีค่าเท่าไรกันแน่ถ้าเทียบเป็นมูลค่าในวันนี้?

DCF ภาคบังคับของวีไอ | Club VI คลับ วีไอ

1 146. 41 EBIT margin 15% 14. 50% 14% 13. 50% 13% EBIT 15. 95 16. 94 17. 9685 19. 0333 EBIT(1-tax) 12. 76 13. 552 14. 3748 15. 22664 Increase in sales 10 11 12. 1 13. 31 Incremental CAPEX 4. 4 4. 84 5. 324 Incremental NWC 1. 1 1. 21 1. 331 FCFF 7. 76 8. 052 8. 3248 8. 57164 ถ้าเป็น FCFE ก็จะคล้ายๆกันแต่เปลี่ยนตรงที่เริ่มจาก Net income ดังนั้นก็เอา net profit margin มาใช้แทน และตอนสุดท้ายมีสมมติฐานเรื่องการกู้ยืมเงินซึ่งปกติก็คืออ้างอิงเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนที่ต้องใช้ (Incremental CAPEX + Incremental NWC) จะสังเกตว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ต้องอาศ้ยการเดาเยอะมาก แบบแรกก็คือเดาแบบเหมาภาพรวมส่วนแบบที่สองคือเดาตัวแปรต่างๆของบริษัท ส่วนตัวผมมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ เลือกที่จะเดากับเฉพาะบริษัทที่มีอำนาจในการบังคับผู้บริโภค ทำความเข้าใจภาพรวมอุตสาหกรรม และจุดเด่นของบริษัท เดาไว้ทั้งแบบกรณีกลางๆกับแย่ ทำ DCF แล้ว Free Cash Flow ติดลบ ทำยังไงต่อ?

1. ว่ากันตามทฤษฎีทางการเงินการวัดมูลค่าหุ้นด้วย model ของ DCF ( Discounted Cash Flow) จัดเป็นการวัดมูลค่าหุ้นที่แม่นยำที่สุด เพราะเป็นการประเมินมูลค่าหุ้นจากการนำกระแสเงินสดอิสระทั้งหมดที่บริษัทจะผลิตได้ ตั้งแต่วันนี้จนไปถึงอนันตกาล 2. คำถามแรกคือ กระแสเงินสดอิสระ ( Free Cash Flow: FCF) คืออะไร, FCF ก็คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกำไรอันเป็นรูปเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท ลบด้วยจำนวนเงินที่จะเก็บไว้ลงทุนต่อและเงินที่ต้องเก็บไว้ใช้เป็นทุนหมุนเวียนภายในบริษัท ( เขียนเป็นสมการจะได้เป็น: FCF = Operating Cash Flow – [ Capital Expenditure + Change in Working capital]) 3. แล้วทำไมการวัดมูลค่าบริษัทด้วย Summation of FCF ถึงมีความแม่นยำสูงสุด? คำตอบก็คือเป็นเพราะ FCF เป็นสิ่งที่สะท้อนผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีที่สุด เนื่องจาก FCF เป็นตัวที่บ่งบอกว่าบริษัทผลิต"เงินสด" ที่สามารถเอาไปทำอะไรก็ได้ ( รวมทั้งเอามาจ่ายเป็นปันผลให้ ผถห. ) ได้มากน้อยแค่ไหน…. แน่นอนว่าเราลงทุนกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เราก็ย่อมจะคาดหวังว่าบริษัทจะเป็น"เครื่องจักรผลิตเงินสด" ให้เรา ดังนั้นการวัดที่กระแสเงินสดอิสระที่บริษัทจะผลิตได้ ย่อมเป็นการวัดที่ตรงประเด็นต่อนลท.

Friday, 27-May-22 22:40:17 UTC
สร-โคน-เสรม-จมก